
ปลูกข้าว พืชไร่ – เนื้อที่ 1 ไร่ ขึ้นไป – ข้าว กรณีเป็นการหว่านข้าวแห้งให้นับวันงอกเป็นวันปลูก ขึ้นทะเบียนหลังปลูก 15-60 วัน ตรวจสอบข้อมูลหลังแจ้งขึ้นทะเบียนจนถึงก่อนเก็บเกี่ยว – พืชไร่ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ขึ้นทะเบียนหลังปลูก 15 – 60 วัน ตรวจสอบข้อมูลหลังแจ้งขึ้นทะเบียนจนถึงก่อนเก็บเกี่ยว – การระบุเนื้อที่ที่เพาะปลูก/เลี้ยง ต้องหักลบเนื้อที่ที่ไม่ได้ปลูก/เลี้ยง ออก เช่น การปลูกข้าวให้หักเนื้อที่ที่อยู่อาศัย โรงเรือน สระน้ำ ปศุสัตว์ นาหญ้า หรือพืชชนิดอื่นออก

ปลูกผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ สมุนไพร – เนื้อที่ 1 งาน ขึ้นไป ขึ้นทะเบียนหลังปลูกแล้วไม่น้อยกว่า 15 วัน – ก่อนเก็บเกี่ยว ตรวจสอบข้อมูลหลังแจ้งขึ้นทะเบียนจนถึงก่อนเก็บเกี่ยว

ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น แบบสวนเดี่ยว สวนแซม -เนื้อที่ 1 ไร่ ขึ้นไป *อ้างอิงจำนวนต้นต่อไร่ตามกำหนด หลังปลูกแล้วไม่น้อยกว่า 30 วัน ถ้ายืนต้นอยู่ให้ปรับปรุงทุกปี – พืชแซมที่ต้องการแสงมาก เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หญ้าเลี้ยงสัตว์ สับปะรด ปลูกแซมได้ไม่เกิน 4 ปีแรกของการปลูกพืชหลัก กรณีพืชแซมที่เป็นพืชเกื้อกูลกันจะไม่กำหนดระยะเวลาการแซม -การคิดพื้นที่ปลูกของพืชแซม กรณีพืชหลัก ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ไม้ผล ไม้ยืนต้น แซมด้วยพืชอายุสั้น (เฉพาะพืชแซมที่ต้องการแสงมาก เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หญ้าเลี้ยงสัตว์ สับปะรด) หรือพืชอายุมากกว่า 1 ปี หรือไว้หน่อไว้ตอ สามารถคงพื้นที่ 1 – 4 ปี โดยคิดที่ร้อยละ 80 ของพื้นที่ปลูกของพืชหลัก – กรณีพืชหลักเป็นไม้ผล ไม้ยืนต้น ต่างๆ เช่น มังคุด มะพร้าว แซมด้วยพืชที่เกื้อกูลกัน สามารถ ปลูกได้เต็มพื้นที่

ปลูกสวนป่า หรือ ปลูกป่าเศรษฐกิจแบบสวนเฉพาะ -เนื้อที่ 1 ไร่ ขึ้นไป จำนวน 100 ต้นขึ้นไป -หลังปลูกแล้วไม่น้อยกว่า 30 วัน ถ้ายืนต้นอยู่ให้ปรับปรุงทุกปี

ปลูกกัญชา -ปลูกกลางแจ้ง เป็นสมุนไพร เนื้อที่ 30 ตร.ม. ไม่น้อยกว่า 6 ต้น / ปลูกในโรงเรือนถาวร เป็นสมุนไพร เนื้อที่ 30 ตร.ม. -แจ้งขึ้นทะเบียนหลังปลูก 15 วัน ตรวจสอบข้อมูลหลังแจ้งขึ้นทะเบียนจนถึงก่อนเก็บเกี่ยว กัญชา เป็นพืชที่มีเงื่อนไขพิเศษที่มีข้อกำหนดเพิ่มเติมคือ 1 ต้องเป็นผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือสหกรณ์การเกษตร ซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ ซึ่งดำเนินการภายใต้ความร่วมมือและกำกับดูแลของผู้ขออนุญาต ดังนี้ -หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัยหรือจัดการเรียนการสอนทางการแพทย์เภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือเกษตรศาสตร์ หรือมีหน้าที่ให้บริการทางการแพทย์ เภสัชกรรม หรือวิทยาศาสตร์ หรือมีหน้าที่ให้บริการทางเกษตรกรรมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์หรือเภสัชกรรม หรือหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด หรือสภากาชาดไทย -สถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัยและจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับทางการแพทย์หรือเภสัชศาสตร์ 2 ผู้ได้รับอนุญาตผลิต (ปลูก) ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 (กัญชา) จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยที่ใบอนุญาตยังไม่หมดอายุ ณ วันที่มาขึ้นทะเบียนเกษตรกร กรณีเป็นองค์กรหรือนิติบุคคล จะต้องมีการมอบหมายตัวแทนมาขึ้นทะเบียน -การคำนวณเนื้อที่ขั้นต่ำของกิจกรรมการเกษตรสามารถนับรวมจากหลายแปลง หลายเอกสารสิทธิ์ได้ แต่ต้องเป็นแปลงที่อยู่ติดกันเท่านั้น

ปลูกกัญชง -ปลูกกลางแจ้ง เป็นสมุนไพร เนื้อที่ 30 ตร.ม. ไม่น้อยกว่า 6 ต้น / ปลูกกลางแจ้ง เป็นพืชไร่ (เส้นใย) เนื้อที่ 1 ไร่ / ปลูกในโรงเรือนถาวร เป็นสมุนไพร เนื้อที่ 30 ตร.ม. – แจ้งขึ้นทะเบียนหลังปลูก 15 วัน ตรวจสอบข้อมูลหลังแจ้งขึ้นทะเบียนจนถึงก่อนเก็บเกี่ยว – ต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ที่ได้รับใบอนุญาตผลิต (ปลูก) จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และใบอนุญาตยังไม่หมดอายุ ณ วันที่มาขึ้นทะเบียนเกษตรกร กรณีเป็นนิติบุคคลจะต้องมีการมอบหมายตัวแทนมาขึ้นทะเบียน -การคำนวณเนื้อที่ขั้นต่ำของกิจกรรมการเกษตรสามารถนับรวมจากหลายแปลง หลายเอกสารสิทธิ์ได้ แต่ต้องเป็นแปลงที่อยู่ติดกันเท่านั้น

ปลูกกระท่อม -ปลูกกลางแจ้ง เป็นสมุนไพร เนื้อที่ 1 งาน ไม่น้อยกว่า 20 ต้น -แจ้งขึ้นทะเบียนหลังปลูกแล้วไม่น้อยกว่า 30 วัน ถ้ายืนต้นอยู่ให้ปรับปรุงทุกปี ตรวจสอบข้อมูลหลังแจ้งขึ้นทะเบียน จนถึง 60 วัน -ต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล กรณีเป็นนิติบุคคล จะต้องมีการมอบหมายตัวแทนมาขึ้นทะเบียน -การคำนวณเนื้อที่ขั้นต่ำของกิจกรรมการเกษตรสามารถนับรวมจากหลายแปลง หลายเอกสารสิทธิ์ได้ แต่ต้องเป็นแปลงที่อยู่ติดกันเท่านั้น

ปลูกพืชแบบเกษตรผสมผสาน ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน -เนื้อที่ 1 ไร่ ขึ้นไป *อ้างอิงจำนวนต้นต่อไร่ตามกำหนด – สวนผสม หมายถึง การเพาะปลูกพืชหลายชนิดปะปนกัน ในพื้นที่เดียวกัน มีอาณาเขตของสวนที่แน่นอนแต่ระยะปลูกของพืชแต่ละชนิดไม่แน่นอน และอาจมีการเลี้ยงสัตว์ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำร่วมด้วยการคิดพื้นที่ปลูกของสวนผสมหากเป็นไม้ผลไม้ยืนต้นให้นับเป็นจำนวนต้น – เกษตรกรรมยั่งยืน (Sustainable agriculture) หมายถึง การทำการเกษตรที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค เป็นมิตรกับสภาพแวดล้อม และความสมดุลของสภาพธรรมชาติ เป็นระบบการผลิตทางการเกษตรหรือระบบฟาร์มในรูปแบบต่างๆ ทีเหมาะสมกับภูมินิเวศของแต่ละพื้นที่ จัดเป็นระบบการผลิตที่เหมาะสม ซึ่งจำแนกตามลักษณะการผลิตว่าจะเน้นหนักด้านใด หรือมีจุดเด่นที่ต่างกันออกไปอย่างไร มีรูปแบบระบบเกษตรกรรม 5 รูปแบบ ได้แก่ เกษตรผสมผสาน (Integrated farming) เกษตรอินทรีย์ (Organic farming) เกษตรธรรมชาติ (Natural farming) เกษตรทฤษฎีใหม่ (New theory agriculture) วนเกษตรหรือไร่นาป่าผสม (Agroforestry)

เพาะเห็ด ทำผักงอก -ปลูกบนเนื้อที่ 30 ตร.ม. ขึ้นไป -แจ้งขึ้นทะเบียนหลังปลูก 15 วัน ตรวจสอบข้อมูลหลังแจ้งขึ้นทะเบียนจนถึงก่อนเก็บเกี่ยว

เพาะปลูกพืชในระบบโรงเรือนถาวร -ขนาด 6 x 12 เมตร (ขั้นต่ำ 72 ตร.ม.) -แจ้งขึ้นทะเบียนหลังปลูก 15 วัน ตรวจสอบข้อมูลหลังแจ้งขึ้นทะเบียนจนถึงก่อนเก็บเกี่ยว

เพาะเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ – ผึ้ง 10 รัง / ชันโรง 20 รัง / จิ้งรีด ดวงสาคู ไส้เดือน 30 ตร.ม. – แจ้งขึ้นทะเบียนหลังเลี้ยงไม่น้อยกว่า 15 วัน – ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต ตรวจสอบข้อมูลหลังแจ้งขึ้นทะเบียน จนถึง ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต – หากเกษตรเลี้ยงด้วงสาคู ต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเห็นชอบจากชุมชน ให้ดำเนินการเลี้ยงด้วงสาคูได้

ทำนาเกลือสมุทร -เนื้อที่ 1 ไร่ -หลังจากวันที่ปล่อยน้ำเข้าแปลงแล้ว 15 วัน – ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งสุดท้าย ตรวจสอบข้อมูลหลังแจ้งขึ้นทะเบียน จนถึงก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งสุดท้าย
ที่มา : https://www.facebook.com/103527268361817/posts/417056007008940/?d=n